วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

คลื่นความถี่วิทยุ

คลื่นความถี่วิทยุ( Radio Frequency )

คลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency)
ใช้ลักษณะการแปลงข้อมูลไปเป็นคลื่นทำให้สามารถส่งไปได้ระยะทางที่ไกล ผ่านสิ่งกีดขวางได้ดีและส่งแบบทุกทิศทุกทาง
- ช่วงครอบคลื่นวิทยุ (Spread Spectrum Radio)
เป็นการวิธีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ความถี่วิทยุ มากกว่าความต้องการเพื่อป้องกันคลื่นรบกวนและการดักฟัง ซึ่งไม่ต้องได้รับอนุญาตจาก FCC (Federal Communication Committee)
มีความถี่แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่
902 - 928 MHz
2.4 - 2.484 GHz
- ช่วงความถี่แคบหรือช่วงความถี่เดี่ยวของคลื่นวิทยุ (Narrowband or Single-band      Radio)
ใช้ความถี่ในช่วงไมโครเวฟ จะใช้ช่องสัญญาณเดียวในการรับส่งข้อมูลทำให้ส่งได้ไกล  และการใช้งานต้องมีการขออนุญาตก่อนจาก FCC (Federal Communication Committee) ส่วนใหญ่จะใช้ลิงค์ที่เป็น Backbone หรือการเชื่อมต่อระหว่าง Hub กับ Hub มีความถี่แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่
902-928 MHz
2.14 - 2.484 GHz
5.725 - 5.850 GHz

Narrow Band Technology

เป็นระบบวิทยุแบบความถี่แคบ เป็นการรับส่งความถี่ 902 MHz ถึง 928 MHz, 2.14 MHz ถึง 2.484 และ 5.725 MHz ถึง 5.850 MHz สัญญาณจะมีกำลังต่ำ (โดยทั่วไปประมาณ 1 มิลลิวัตต์) และใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทางเพียง 1 คู่เท่านั้น

Spread Spectrum Technology 

 ระบบเครือข่ายไร้สายส่วนใหญ่นิยมใช้เทคนิค Spread Spectrum Technology ซึ่งใช้ความถี่ที่กว้างกว่า Narrow Band Technology ซึ่ง Spread Spectrum คือ ช่วงความถี่ระหว่าง 902-928 MHz และ 2.4-2.484 GHz โดยการส่งสัญญาณเทคนิค Spread Spectrum สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ Direct Sequence และ Frequency-Hopping

Direct Sequence Spread Spectrum (DSSS) 

Direct Sequence Spread Spectrum เป็นเทคนิคที่ยังใช้คลื่นพาหะที่ต้องระบุความถี่ที่ใช้ โดยมันสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบ Narrow Band วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่มีการแทรกสอดรบกวนจากคลื่นวิทยุอื่น ๆ อย่างรุนแรง

Frequency - Hopping Spread Spectrum (FHSS) 

การส่งสัญญาณรูปแบบนี้จะใช้ความถี่แคบพาหะเพียงความถี่เดียว (Narrow Band) โดยเน้นการนำไปใช้งาน ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่า ถ้าคำนึงถึงปัญหาทางด้านประสิทธิภาพและคลื่นรบกวนก็ควรใช้ วิธี DSSS ถ้าต้องการใช้ Adapter ไร้สายขนาดเล็กและราคาไม่แพงสำหรับเครื่อง Notebook หรือเครื่อง PDA ก็ควรเลือกแบบ FHSS

Orthogonal Frequency Division Multiplex (OFDM)

เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลตามมาตรฐานใหม่ ๆ ของระบบเครือข่ายไร้สาย คือ IEEE 802.11a และ 802.11g การส่งสัญญาณคลื่นวิทยุแบบนี้เป็นการ Multiplex สัญญาณโดยช่องสัญญาณความถี่จะถูกแบ่งออกเป็นความถี่พาหะย่อย (subcarrier) หลาย ๆ ความถี่ โดยแต่ละความถี่พาหะย่อยจะตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทำให้มันเป็นอิสระต่อกัน ความถี่ที่คลื่นพาหะที่ตั้งฉากกันนั้นทำให้ไม่มีปัญหาการซ้อนทับของสัญญาณที่อยู่ติดกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น